โครงการหล่อพระหลวงพ่อพระโตโคตะมะ

     รายละเอียดโครงการหล่อพระสืบชะตาหลวงความเป็นมาขององค์หลวงพ่อพระโตโคตะมะ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปบูรณะพระธาตุพนมและได้พบคัมภีร์สุริยะโคตมะ ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณ (พระมหากัสสปะและพระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้จารึก) จึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎก วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากที่ท่านได้มรณภาพแล้ว ไม่มีผู้ใดพบเห็นคัมภีร์โบราณอีกเลย จนกระทั่งหลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ได้ค้นพบและเก็บไว้เป็นหลักฐาน หลังจากค้นพบแล้วก็ได้ศึกษาค้นคว้า จึงทำให้ได้ีรู้ว่า มีพระพุทธรูปที่มีความสำคัญ ซึ่งภายในได้บรรจุพระพุทธนขา (เล็บมือข้างขวา) ของพระพุทธเจ้า และเป็นกุญแจสำคัญที่นำพาให้ได้พบพระพุทธโลหิตสืบต่อไปการค้นพบหลวงพ่อพระโต โคตะมะมูลเหตุแห่งการค้นพบหลวงพ่อพระโตโคตะมะ เริ่มต้นที่ วัดแสนชะนี บ้านแสนชะนีตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงปี ๒๕๓๕หลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ได้มาสร้างวัดป่าคำบอน (บ้านคำบอน อ.นาจะหลวย จ.อุบลฯ) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน และได้ยินคำร่ำลือเกี่ยวกับวัดแสนชะนี ว่าเป็นสถานที่มีอาถรรพ์มาก เพราะไม่มีพระรูปใดไปพักและจำพรรษาอยู่ได้เลย พระภิกษุ – สามเณร ที่จำพรรษาอยู่ก็มรณภาพ จึงเกิดคำร่ำลือไปต่าง ๆ นานาว่าที่แห่งนี้มีผีดุ เมื่อหลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ได้ยินเสียงร่ำลือดังนี้แล้ว ก็เกิดความสนใจอยากจะไปพิสูจน์ให้รู้แน่ชัด ว่าการที่ พระ – เณร มรณภาพนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ตกตอนกลางคืนจึงได้เดินทางไปที่วัดแสนชะนี และได้ไหว้พระสวดมนต์เจริญภาวนาอธิษฐานจิตว่า “ถ้าหากสถานที่นี้เป็นพุทธสถานมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์อยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ลบหลู่แต่ขอให้ปรากฏขึ้น ให้ข้าพเจ้าได้รู้ได้ประจักษ์ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา” พออธิษฐานเสร็จ หลวงพ่อได้เจริญสมาธิภาวนาได้ ๑๕ นาที ก็รู้สึกว่าตัวแข็งทื่อเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่จิตยังปกตินิ่งอยู่ รู้ทุกสภาวะอาการที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด จึงได้กำหนดจิตอธิษฐานว่า “บุญบารมีของใครหนอ ถึงมีอานุภาพยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้ ถ้ามีตัวตนอยู่จริงขอให้มาปรากฏเกิดขึ้น ให้ข้าพเจ้าได้รู้ได้เห็นได้ชมเป็นบุญตา เกิดบุญเกิดกุศลด้วยเถิด” พออธิษฐานเสร็จก็เห็นหลวงปู่เดินขึ้นมานั่งอยู่ข้าง ๆ อาการตัวแข็งทื่อก็หายไป แล้วหลวงปู่ก็ได้เอามือลูบที่ศรีษะ แตะที่หน้าผากหลวงพ่อ ๓ ครั้ง แล้วก็พูดว่า “ลูกเอ๋ย น่าสงสาร ทำไมหนอถึงเวียนไหว้ตายเกิดอยู่บ่อยนักน่าสงสาร ป่านนี้ถึงได้พบกันได้เห็นกันอีก ปู่มานั่งรออยู่ตั้งนานแล้ว” จากนั้นก็ใช้เวลาสนทนากันเกือบชั่วโมง หลวงพ่อจึงได้ถอนจิตออกจากสมาธิซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาเกือบเที่ยงคืนแล้ว หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดป่าคำบอน (อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี) เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงพรรษา หลังจากนั้นมา หลวงพ่อภรังสี ฉันทโร จึงได้หาโอกาสไปเจริญสมาธิภาวนา สอบถามเรื่องราวรายละเอียดต่าง ๆ และทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย จึงทำให้ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่สถิตย์อยู่ใต้พื้นดินที่วัดแสนชะนีแห่งนี้ในคราวที่พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสด็จมาที่แผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยเสด็จมา ที่ภูเขาหัวช้างเมืองโคตรภู (ปัจจุบันนี้คือยอดลำโดมใหญ่ บ้านแข้ด่อน อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี) พร้อมทั้งพระอรหันต์สาวกอันประกอยไปด้วย พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระสีวลี พระมหากัจจายนะ และพระเทวจักร (ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในเขตสุวรรณภูมิ) ได้มาถวายการต้อนรับ ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทงรปลงพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๑๐ นิ้ว และได้พระราชทานพระนขาข้างขวา ให้แก้พระกัสสปะ ส่วนพระนขาข้างซ้าย
เทวดาได้อัญเชิญขึ้นไปเก็บไว้ที่เทวโลก พระมหากัสสปะได้ทราบพุทธประสงค์แล้ว จึงได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้แก่พระสีวลีและพระเทวจักร เพื่อดำเนินการสร้างพระพุทธรูปเพื่อบรรจุพระพุทธนขา พระสีวลีและพระเทวจักรจึงได้จัดสร้างพระพุทธรูป ซึ่งทำจากทองคำทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๒๙ เมตร เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จกลับไปพระมหากัสสปะได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่เมืองโคตรภู เพื่อให้ประชาชนชาวเมืองโคตรภูได้กราบไหว้บูชาสักการะ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “โคตมะ” เนื่องจากเป็นพระพุทธรูป ที่ภายในบรรจุพระนขา จึงเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนแห่งพระบรมศาสดา จากนั้นท่านก็ได้ไปแกะสลักรูปนารายณ์บรรทมศิลป์ แล้วจารึกเป็นภาษาฮินดีว่า “ศรีสุริยะ” ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับประเทศอินเดีย ภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ชาวเมืองโคตรภู ได้เกิดทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพระพุทธรูปเพราะต่างก็อยากจะครอบครอง จนทำให้บ้านเมืองเสียหายเพราะภัยสงครามพระพุทธรูปเกิดความศักดิ์สิทธิ์ ได้เสด็จลงสู่แม่น้ำลำโดม บริเวณวังมน – วังฮี ลอยมาตามกระแสแม่น้ำมาหยุดอยู่ที่วัดแสนชะนี (บ้านแสนชะนี ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวยจังหวัดอุบลราชธานี) และจมอยู่ใต้พื้นดินจนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีผู้ใดได้ล่วงรู้ถึงพระพุทธรูปองค์นี้อีกเลย