ประวัติวัดภูพลานสูง

วัดภูพลานสูงเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศจัดตั้งวัดภูพลานสูงเป็นวัดในพระพุทธ ศาสนา  เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ สถานที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนยอดเขาพลานสูง (คำว่าพลานสูง หมายถึงลานหินกว้าง)  เทือกเขาภูจอง ห่างจากอำเภอนาจะหลวยไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔ กิโลเมตร วัดนี้อยู่ในความอุปถัมภ์ของชาวบ้านหลักเมือง ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี  และทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งพระครูธรรมธร (ภรังสี ฉนฺทโร)  เป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐  ทางวัดและญาติโยมได้จัดพิธีเปิดป้ายวัดและทำบุญฉลองตราตั้งเจ้าอาวาสเพื่อ เป็นสิริมงคล โดยมีพระเทพกิตติมุนีที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธาน เมื่อ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐

เนื่องจากสถานที่ตั้งของวัดเป็นที่สัปปายะ เป็นป่าเขาลำเนาไพรสงบวิเวก  จึงมักจะมีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานพาลูกศิษย์ลูกหามาปฏิบัติธรรมฝึกจิตภาวนา เป็นประจำ  ในสมัยที่ยังไม่เป็นวัดนั้น  คณะสงฆ์มักจะใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานปฏิบัติธรรมหลังออกพรรษา  อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา วัดภูพลานสูงเกิดขึ้นจากความพยายามของทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์  ครูบาอาจารย์ที่ได้มาสร้างวัดองค์แรกก็คือพระครูวิบูลธรรมธาดา(กาว ธมฺมทินฺโน) อดีตเจ้าคณะอำเภอเดชอุดมได้มาบุกเบิกหักร้างถางพงและสร้างเสนาสนะต่างๆ เท่าที่จำเป็นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ช่วงเวลานั้นสถานที่แห่งนี้มีไข้มาลาเรียชุกชุมมาก จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการสร้างวัดเป็นอย่างยิ่ง  จะหาพระเณรมาอยู่จำพรรษาก็ลำบากเนื่องจากพระครูวิบูลธรรมธาดาท่านได้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปในภายภาคหน้าจะมีความสำคัญ  เพราะในสมัยท่านเป็นสามเณรท่านเคยติดตามถวายการอุปัฏฐาก  พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง  ซึ่งท่านเป็นผู้ไปทำการบูรณะองค์พระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และได้พบพระคัมภีร์โบราณ  จึงทำให้ทราบถึงคำพยากรณ์ในคัมภีร์ว่า  จะมีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาที่วัดภูพลานสูงแห่งนี้ในอนาคตพระครูวิโรจน์ รัตโนบลจึงได้หมอบหมายให้พระครูวิบูลธรรมธาดาซึ่งเป็น สามเณรในสมัยนั้นมาสร้างวัดภูพลานสูง  เพื่อรองรับพระบรมสารีริกธาตุ ตามคำทำนายในพระคัมภีร์ พระครูวิบูลฯ จึงได้ดำเนินการสร้างวัดมาด้วยความยากลำบาก ในอดีตที่ผ่านมาคณะสงฆ์ได้พยายามผลักดันที่จะก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หันพระพักตร์ไปทางประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศไทย เนื่องจากสถานที่ตั้งวัดอยู่ระหว่างชายแดนทั้ง ๓ ประเทศ  แต่ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการสร้างได้ตามกฎแห่งไตรลักษณ์วัดภูพลานสูงก็อยู่ ในกฎของความไม่เที่ยงเช่นเดียวกัน  คืออยู่ในยุคเสื่อมยุคเจริญมาตามลำดับ  บางปีก็มีพระอยู่จำพรรษา  บางปีก็ขาดแคลนพระมาอยู่จำพรรษา จนกระทั่งมาถึงปี ๒๕๔๒ ชาวบ้านหลักเมืองจึงได้พร้อมใจกันกราบอาราธนาให้หลวงพ่อภรังสี ซึ่งประจำอยู่ที่วัดป่าบ้านคำบอนในสมัยนั้นขึ้นมาดูแลวัดภูพลานสูง เพื่อนำพาสาธุชนบูรณปฏิสังขรณ์วัดสืบต่อไป หลวงพ่อภรังสีจึงได้จัดส่งพระลูกวัดขึ้นมาพักจำพรรษาดูแลเสนาสนะคือ พระอาจารย์วิทย์ ปคุโณ หลวงปู่พูน สนฺตจิตฺโต และสามเณรอีก ๒ รูป โดยมีพระครูสุนทรสารวัฒน์ (สุนทร สุนฺทโร) เจ้าคณะตำบลตูม เป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อออกพรรษาพระภิกษุสามเณรก็ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ เนื่องจากลำบากด้วยปัญหาต่าง ๆ เช่น ด้านอาหาร การขบฉัน ยารักษาโรค ถนนหนทาง การเดินทางสัญจรขึ้นลงลำบาก จึงพากันลงจากวัดภูพลานสูงไปจำพรรษาที่วัดอื่น จนมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๕ หลวงพ่อภรังสีได้ขึ้นมาดูแลและทำการพัฒนาปรับปรุงวัด โดยมานำร่องอยู่ ๒ ปี ท่านได้บุกเบิกทำถนนขึ้นสู่วัด จัดระเบียบต่าง ๆ ของวัดให้เป็นรูปเป็นรอย ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ วัด และมอบหมายให้พระลูกศิษย์ดูแลแทน ส่วนหลวงพ่อได้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านคำบอนผลปรากฏว่าพระลูกศิษย์ไม่ สามารถอยู่จำพรรษาได้  จึงทำให้หลวงพ่อขบคิดว่าทำไมวัดภูพลานสูงพระเณรอยู่ไม่ได้  ท่านจึงขึ้นมาดูแลด้วยตัวท่านเองในปี พ.ศ. ๒๕๔๗  ก่อนเข้าพรรษาท่านได้สร้างกุฏิขึ้นมาหลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่พำนักจำพรรษา จากนั้นหลวงพ่อภรังสีก็ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น  และนำพาญาติโยมประพฤติปฏิบัติธรรมเรื่อยมา พร้อมกับได้ค้นคว้าหาสาเหตุที่พระเณรมาอยู่ที่นี่ไม่ได้เป็นเพราะเหตุใด จนได้ทราบสาเหตุ ต่อมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเกี่ยวเนื่องด้วยองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ เสด็จมาสู่วัดภูพลานสูงตามคำทำนายของคัมภีร์โบราณ  หลวงพ่อได้บอกศิษยานุศิษย์มาร่วมรับเสด็จพระบรมสารีริกธาตุอย่างสมพระ เกียรติ  ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวต่างพากันมากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ อย่างไม่ขาดสายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จอุบัติเกิดขึ้นที่วัดภูพลานสูง มีดังนี้.-

๑. พระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์เบื้องขวา ถูกค้นพบโดยหลวงพ่อภรังสี ฉนฺทโร เมื่อปี ๒๕๔๗ ได้อัญเชิญเสด็จสู่วัดภูพลานสูง ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ (ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก)

๒. พระสรีรังคาร พระสรีรังคารได้เสด็จมาที่วัดภูพลานสูงบริเวณหน้ารูปปั้นพระสังกัจจายน์องค์ ใหญ่  เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๘ เวลา ๑๗.๓๐ น. หลวงพ่อภรังสีได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานที่ศาลาวิบูลธรรมดานุสรณ์

๓. พระคัมภีร์โบราณ เป็นพระคัมภีร์บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ  เหตุการณ์บ้านเมืองในอนาคต ฯลฯ  ซึ่งเทวดาได้นำมาถวายให้หลวงพ่อภรังสี ๒ วาระ คือ

– วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ (ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา) เวลา ๐๔.๐๐ น.  เทวดาได้นำพระคัมภีร์โบราณส่วนแรก จำนวน ๔ แผ่นมาถวายหลวงพ่อภรังสี

– วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ (ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ) เทวดาได้นำพระคัมภีร์ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๑ แผ่นมาถวายให้แก่หลวงพ่อภรังสีอีก

๔. พระเขี้ยวฝาง  พระพุทธโลหิตธาตุ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ (ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ) เวลา ๑๖.๐๐ น. พระเขี้ยวฝาง  และพระพุทธโลหิต ได้เสด็จลงที่รูปแกะสลักของหลวงปู่โมคคัลลานะ ที่วัดป่าคำบอน ต.บ้านตูม อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี  หลวงพ่อภรังสีได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดภูพลานสูง

๕. รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๙ เวลา ๒๓.๐๐ น. หลวงพ่อภรังสีได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทบริเวณ บ่อน้ำผุด (น้ำบุ้น) รอยระพุทธบาทนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับไว้  เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ ๕๐ พรรษา  เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิประเทศ

๖. รอยพระพุทธหัตถ์ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ หลวงพ่อภรังสีได้ประกอบพิธีทำบุญตักบาตร และทำการเปิดรอยพระพุทธหัตถ์ที่ค้นพบบริเวณหน้าผาประวัติศาสตร์

นอกจากนั้นก็มีสถานที่สำคัญที่เป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีดังนี้
๑. ศาลาวิบูลธรรมธาดานุสรณ์  เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์เบื้องขวา  พระสรีรังคาร  พระเขี้ยวฝาง  พระพุทธโลหิตธาตุ พร้อมทั้งพระอรหันตธาตุของบูรพาอาจารย์อีกหลายรูปเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ฯลฯ

๒. มหามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท  มหามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ออกแบบโดยหลวงพ่อภรังสี ฉนฺทโร ได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑  เพื่อครอบรอยพระพุทธบาทที่ถูกค้นพบและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชน ที่เดินทางมากราบสักการบูชารอยพระพุทธบาท  รอยพระพุทธบาทนี้อยู่ห่างจากวัดภูพลานสูงไปทางทิศใต้ราว ๒.๕ กิโลเมตร

๓. หน้าผาประวัติศาสตร์  หน้าผาประวัติศาสตร์ได้จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในพระคัมภีร์โบราณ ลงในแผ่นหินหน้าผาภูพลานสูง มีความยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร เพื่อให้เป็นข้อมูลหลักฐานและแหล่งศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์  โบราณคดี  การแกะสลักและคัดลอกพระคัมภีร์โบราณนี้  หลวงพ่อภรังสีได้มอบหมายให้พระมหาภูลังกา เขมทฺสสี  ไปดำเนินการจัดทำคัดลอกคัมภีร์โบราณลงในแผ่นหินบริเวณหน้าผา  แล้วเสร็จในปลายเดือนเมษายน ๒๕๕๑