พระแก้วแสนคำ เมื่อหลวงพ่อพระโตโคตะมะเสด็จลงสู่แม่น้ำวังมนวังฮี ผู้คนยังไปกราบไหว้ขอพรขอบารมีจากหลวงพ่อพระโตโคตะมะอยู่เนือง ๆ หลาย ๆ ปีก็เงียบหายไปซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติที่มีเกิดและมีดับเป็นของคู่กัน หลวงพ่อพระโตโคตะมะได้ไปจำพรรษาที่เมืองบาดาล ต่อมาอีกประมาณ ๑๐ กว่าปี หลังจากพุทธปรินิพพาน พระมหากัจจายนะกับพระสีวลีและเจ้าเมืองอินทปัตได้ร่วมกันสร้างพระแก้วแสนคำ ขึ้นมา และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้บนเศียรพระแก้วแสน คำ นครแสนคำเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมากกว่าเมืองอื่น ๆ หลายเมืองเกิดศรัทธาในพระแก้วแสนคำ จึงได้ทำการรบพุ่งแย่งชิงพระแก้วแสนคำมาไว้ในครอบครอง พระแก้วแสนคำจึงได้เสด็จมาอยู่เมืองแสนคำตรงที่เจ้าเมืองเอาหิน ๓ ก้อนจากนครโคตรภูมาวางไว้ เมื่อพระแก้วเสด็จมาอยู่ตรงนี้ เขาเลยสร้างเมืองขึ้นมา สร้างหอปราสาท สร้างมณฑป วิหารถวายพระแก้วแสนคำ จึงได้นามว่า “นครแสนคำ” สืบต่อมา นครแสนคำ อยู่ต่อมาประมาณสี่ร้อยกว่าปีก็เกิดเรื่องราวชิงรักหักสวาทขึ้นในนครแสนคำ พระนางคำนางกับพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนเป็นพระโอรสของพระเจ้าอองแวชัยเสนแห่งนครจำปาศรี ปัจจุบันคือจังหวัดขอนแก่น เป็นราชบุตรเขยของพระยาตุ้มทองในสมัยนั้นพระยาตุ้มทองมีบารมีโด่งดังมาก ได้พระเจ้าอองแวชัยเสนเป็นราชบุตรเขย มีพระราชโอรสชื่อพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน ได้เสกสมรสกับพระนางคำนางซึ่งเป็นหลานของพระยาเทพชมพู แห่งนครแสนเมือง พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนได้ปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น สาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองล่มจมนั้น เป็นเพราะในปีนั้นพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนและบรรดาเหล่าเสนาบดีเห็นพ้องต้องกัน ว่า ตรงตำหนักที่พระนางคำนางประทับอยู่นั้นเริ่มทรุดตัว มีน้ำท่วมขังต่อไปพระตำหนักของพระนางคงต้องพังลงไปอย่างแน่นอน พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนจึงให้เสนาบดีไปตระเวนหาที่จะสร้างเมืองใหม่สร้างพระ ตำหนักใหม่ เหล่าเสนาบดีด้นดั้นค้นหาจนมาถึงเมืองบัว ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่มีความเจริญมากเพราะมีโรงงานกระเบื้องดินเผาสังคโลกถึง ๑๐ โรง ความเจริญต่าง ๆ มาอยู่ที่เมืองบัวหมด เมื่อพบที่ถูกใจเหล่าเสนาบดีก็กลับไปกราบทูลพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน ... Read More »