Daily Archives: 6 มกราคม 2015

คำภีร์พระยาธรรม

     ผู้รจนาคัมภีร์พระยาธรรมคือพระโมคคัลลานะ คัมภีร์นี้มี ๑๒ ผูก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ เช่น ประวัติข้อพระหัตถ์เบื้องขวา ประวัติพระสรีรังคาร ประวัติพระเขี้ยวฝาง ประวัติพระพุทธโลหิต รอยพระพุทธบาท ประวัติรอยพระหัตถ์ ประวัติความเป็นมาของพระโมคคัลลานะ ประวัติความเป็นมาของกรรมมหาฤทธิ์ ๑-๒-๓ ชาติ ความเป็นมาของยุคศิวิไลซ์ ดังนั้นถ้าเราไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เราจะไปประกาศได้อย่างไร ถ้าผู้ใดได้ศึกษาความเป็นมาเป็นไปที่มาที่ไปต่าง ๆ ตามตำนานจนจบเรียบร้อย เขาจะเรียกว่า พระยาธรรมสามารถไปประกาศธรรมของพระพุทธองค์ได้ ถ้าเราไม่รู้ไม่ทราบเราจะไปประกาศได้อย่างไร พระเขี้ยวฝางมาจากไหน พระพุทธโลหิตมาจากไหนไม่รู้ แล้วเราจะไปประกาศพระองค์ได้อย่างไร นั่นแหละเขาเรียกผู้ไปประกาศว่าพระยาธรรม ผูกสุดท้ายผูกที่ ๑๒ คือศักดาอานุภาพ หรือ ศักดามณี หรือศักดามหามณี ถ้าผู้ใดได้รับได้ครอบครองได้รองรับเป็นผู้มาประกาศ ต้องได้ศึกษาเล่าเรียนศักดาอานุภาพ เรื่องราวความรู้ต่าง ๆ ในโลกนี้ เรื่องไสยเวทย์ต่าง ๆ จะ มาเหนือศักดาอานุภาพไม่ได้ นั่นคือผูกสุดท้ายของพระคัมภีร์พระยาธรรม หลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์นี้มา เมื่อหลวงพ่อไปตรงไหนฝนจะตกฟ้าจะร้องดังสนั่น กำหราบปราบหมู่มารทั้งปวง เรากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม  ถ้าสวดมนต์บทนี้ขึ้นมาทุกอย่างจะราบ ถ้าไม่ยอมต้องตาย ถ้าไม่หยุดต้องตาย นี่คือศักดาอานุภาพไปที่ไหนสวดฝนก็จะตกตลอด มันจะชุ่มเย็นตลอด หลวงพ่อปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ท่านวางเอาไว้ ไม่ใช่ว่าขลังท่านให้สวดทำหน้าที่ของเรา ให้สวดถวายตามตำนานที่เขียนไว้ ถามว่าให้คนอื่นเรียนได้ไหม ... Read More »

คำภีร์โบราณ

คำภีร์โบราณ

     ในบรรดาสิ่งสำคัญที่บังเกิดขึ้นในยุคสุริยะธาตุปรากฏนั้น  หลวงพ่อได้ พบสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ  ที่จะมาปรากฏขึ้นที่วัดภูพลานสูง  สิ่งนั้นก็คือ “คัมภีร์โบราณ” จากที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังและจากข้อมูลที่บรรดาพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อได้รวบ รวมไว้  พอจะทราบที่มาของคัมภีร์นี้  หลวงพ่อเล่าว่าคัมภีร์โบราณนี้เกิดมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาโปรดพระเทวจักร  เมื่อพระพุทธองค์โปรดพระเทวจักรแล้ว  พระเวจักรได้บันทึกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระบรมธาตุ  คำทำนายเกี่ยวกับวัดภูพลานสูงอดีตที่ผ่านมาเมื่อ พ.ศ. ๘  ได้มีการนำพระคัมภีร์นี้มาเก็บรักษาไว้ที่พระธาตุพนม  อยู่ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๕  พระครูวิโรจน์รัตโนบล  หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล  พระเถระทั้ง ๒ องค์ได้เดินทางไปบูรณะองค์พระธาตุพนมและได้พบกับคัมภีร์โบราณ  เป็นการรู้เห็นกัน ๒ องค์เท่านั้น  ทั้งสององค์คิดว่าจะทำอย่างไรกับคัมภีร์นี้  เมื่ออ่านดูและรู้เรื่องราวต่าง ๆ  หลวงปู่เสาร์จึงได้บอกให้ครูวิโรจน์ฯ  ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคัมภีร์โบราณต่าง ๆ  และเป็นเจ้าคณะจังหวัด  มีลูกศิษย์และบริวารมาก หลวงปู่เสาร์จึงให้พระครูวิโรจน์ฯ เก็บรักษาไว้  พระครูวิโรจน์ฯ จึงได้นำคัมภีร์มาเก็บรักษาไว้ที่หอไตร  วัดทุ่งเมืองศรี  จังหวัดอุบลราชธานี  หลังจากที่พระครูวิโรจน์ฯ ท่านมรณภาพแล้ว  ไม่มีใครได้เห็นหนังสือหรือพระคัมภีร์นี้อีกเลยจนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา หลวงพ่อได้รับพระคัมภีร์โบราณส่วนที่ ๑ จำนวน ๔ แผ่น  ... Read More »

ประวัติพระครูวิเวกธรรมรังษี

     พระครูสมุห์ภรังสี ฉนฺทโร  ประธานสงฆ์แห่งวัดภูพลานสูงหรือที่ชาวบ้านและคนทั่วไปจะรู้จักในนาม “หลวงพ่อภรังสี”  ท่านเป็นคนนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานีโดยกำเนิด ท่านถือกำเนิดในตระกูลชาวนา ที่บ้านคำบอน ตำบลตูม อำเภอนาจะหลวย  ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๐๕  ท่านเป็นเด็กที่มีอุปนิสัยพูดจาฉะฉาน  เสียงดังมีความเชื่อมั่นในตัวเอง  พ่อแม่พี่น้องมักจะเกรง  แม้แต่สัตว์เลี้ยงต่างก็กลัวเกรง  ท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำงาน  จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปี  ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาสเห็นโทษเห็นภัยในการครองเรือน  จึงได้มาบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔  ที่วัดศรีพรหม อำเภอนาจะหลวย  โดยมีพระครูอุดมคุณาภรณ์ (สุก) อดีตเจ้าคณะอำเภอนาจะหลวย เป็นพระอุปัชญาย์  และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชญาย์ในช่วงกลางพรรษาสามเณรภรังสีได้ไปพบ ภาพถ่ายของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต  จึงน้อมจิตไปในสายทางแห่งการปฏิบัติธรรม  คืนหนึ่งได้เกิดนิมิตว่า ได้เดินขึ้นไปที่วัดภูพลานสูง  เห็นแสงสว่างไปทั่วภูเขา  และเห็นพระอริยะเจ้าเดินจงกรมเป็นแถว  และได้ยินเสียงเทวดาบอกว่า “นี่คือ วังพระนิพพาน”  เมื่อสอบนักธรรมเสร็จสามเณรภรังสีจึงได้ขึ้นไปปฏิบัติธรรมที่วัดภูพลานสูง เพื่อพิสูจน์นิมิตให้รู้ว่าวังพระนิพพานอยู่ที่ใด  และได้อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมเป็นเวลา ๑๐ วัน ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมคำสอนมากยิ่งขึ้น ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  โดยมีพระครูพิพัฒนโกศลเป็นพระอุปัชญาย์  การอุปสมบทของท่านนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าภาพ  ท่านไปหาเก็บเอาจีวรเก่า ๆ ที่เขาทิ้งเอาซักมาย้อมใหม่  บาตรก็เป็นบาตรเก่าที่ทะลุ  ท่านก็เอาสีผึ้งมาอุด  ทำถลกบาตรใส่  อัฐบริขารต่าง ... Read More »

ประวัติวัดภูพลานสูง

วัดภูพลานสูงเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศจัดตั้งวัดภูพลานสูงเป็นวัดในพระพุทธ ศาสนา  เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ สถานที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนยอดเขาพลานสูง (คำว่าพลานสูง หมายถึงลานหินกว้าง)  เทือกเขาภูจอง ห่างจากอำเภอนาจะหลวยไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔ กิโลเมตร วัดนี้อยู่ในความอุปถัมภ์ของชาวบ้านหลักเมือง ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี  และทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งพระครูธรรมธร (ภรังสี ฉนฺทโร)  เป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐  ทางวัดและญาติโยมได้จัดพิธีเปิดป้ายวัดและทำบุญฉลองตราตั้งเจ้าอาวาสเพื่อ เป็นสิริมงคล โดยมีพระเทพกิตติมุนีที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธาน เมื่อ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เนื่องจากสถานที่ตั้งของวัดเป็นที่สัปปายะ เป็นป่าเขาลำเนาไพรสงบวิเวก  จึงมักจะมีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานพาลูกศิษย์ลูกหามาปฏิบัติธรรมฝึกจิตภาวนา เป็นประจำ  ในสมัยที่ยังไม่เป็นวัดนั้น  คณะสงฆ์มักจะใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานปฏิบัติธรรมหลังออกพรรษา  อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา วัดภูพลานสูงเกิดขึ้นจากความพยายามของทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์  ครูบาอาจารย์ที่ได้มาสร้างวัดองค์แรกก็คือพระครูวิบูลธรรมธาดา(กาว ธมฺมทินฺโน) อดีตเจ้าคณะอำเภอเดชอุดมได้มาบุกเบิกหักร้างถางพงและสร้างเสนาสนะต่างๆ เท่าที่จำเป็นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ช่วงเวลานั้นสถานที่แห่งนี้มีไข้มาลาเรียชุกชุมมาก จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการสร้างวัดเป็นอย่างยิ่ง  จะหาพระเณรมาอยู่จำพรรษาก็ลำบากเนื่องจากพระครูวิบูลธรรมธาดาท่านได้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปในภายภาคหน้าจะมีความสำคัญ  เพราะในสมัยท่านเป็นสามเณรท่านเคยติดตามถวายการอุปัฏฐาก  พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง  ซึ่งท่านเป็นผู้ไปทำการบูรณะองค์พระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และได้พบพระคัมภีร์โบราณ  จึงทำให้ทราบถึงคำพยากรณ์ในคัมภีร์ว่า  ... Read More »