รอยพระพุทธบาท จากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาเพื่อประทับรอยพระพุทธบาท พระพุทธองค์สั่งให้พระมหาโมคคัลลานะกับสีวลีจัดเตรียมสถานที่ที่จะประทับรอย พระพุทธบาทเพื่อเสี่ยงทายหาผู้ที่จะมารองรับศาสนาของพระพุทธองค์ในยุคนั้น ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จมาที่สุวรรณภูมิ (ภูพลานสูง) ในครั้งนั้น พระสารีบุตรนั่งเป็นประธานสงฆ์อยู่ที่เมืองโกสัมพี พระพุทธองค์มีประสงค์จะไม่ให้พระสารีบุตรตามไปด้วย เพราะถ้าพระสารีบุตรตามพระพุทธองค์มาด้วย พระสารีบุตรจะต้องบันทึกเรื่องราวนี้เข้าไปอยู่ในพระไตรปิฏก ตรงนี้พระโมคคัลลานะเป็นผู้ขอร้องเรื่องนี้ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงให้พระสารีบุตรไปดูงานที่อื่น จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จจากเมืองโกสัมพีมาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระสีวลีตามเสด็จพระพุทธองค์ เมื่อพระสารีบุตรไปดูงานเสร็จกลับมาถึงวัดก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จกลับ พระสารีบุตรไม่เห็นพระพุทธองค์ ได้ถามพระเณรว่าเห็นพระพุทธองค์ไหม รู้ไหมว่าพระพุทธองค์อยู่ที่ใด ทำไมเรามองไม่เห็น พระสารีบุตรมองยังไงก็มองไม่เห็น ส่งญาณไปที่ไหนก็มองไม่เห็น พระสารีบุตรก็งงในช่วงนั้น พระโมคคัลลานะได้ใช้อำนาจฤทธิ์ปิดบังพระสารีบุตรไม่ให้เห็นพระพุทธองค์ ส่วนพระสีวลีได้ไปเอาดินจากประเทศอินเดีย พระโมคคัลลานะได้ไปเอาแร่เงินแร่คำ (ทองคำ) ทองคำขาว ทองคำมารวมกันเอามามูลใส่ด้วยกัน แล้วนิมนต์พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทจากนั้นพระพุทธองค์ทรงเสี่ยงทายหาผู้ ที่จะมารองรับพระศาสนาของพระองค์ ในครั้งนั้นพระพุทธองค์จึงได้พบกับกรรมมหาฤทธิ์พญานาค ขึ้นมาจากบาดาลตรงบ่อน้ำบุ้น ได้ขึ้นมากอดพระบาทพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ดูก่อนกรรมมหาฤทธิ์ เ ธอมีบุญมากล้น ทำไมไปแฝงตนในคราบสัตว์เดรัจฉานเล่า เธอปรารถนาสิ่งใดหรือกรรมมหาฤทธิ์” กรรมมหาฤทธิ์ได้ทูลตอบพระพุทธองค์ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาที่จะมารองรับพระศาสนาของพระองค์ในกึ่งศตวรรษ” “ดีแล้ว กรรมมหาฤทธิ์เราจะให้แก่เธอ เพราะเธอบำเพ็ญตบะบารมีมา๓๒ ชาติเท่ากับอาการ ๓๒ ของมนุษย์ เราจะให้แก่เธอกรรมมหาฤทธิ์” เสร็จแล้วกรรมมหาฤทธิ์ก็กลับไปเมืองบาดาลพร้อมพญาศรีสุทโธนาคราชหลังจากนั้น เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภารกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ได้แยกทางกับพระมหากัสสปะ พระสีวลีเดินทางกลับไปเมืองโกสัมพี ส่วนพระพุทธองค์กับพระโมคคัลลานะลงไปโปรดกรรมมหาฤทธิ์ยังเมืองบาดาล เมื่อถึงเมืองบาดาลพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดกรรมมหาฤทธิ์ ... Read More »
หน้าผาประวัติศาสตร์
หน้าผาประวัติศาสตร์ ฉะนั้นเรื่องราวเหล่านี้ในคัมภีร์ที่หลวงพ่อได้มานั้น เพราะพระพุทธองค์ทรงทำไว้ให้เป็นหลักฐานแก่ผู้มาประกาศ ถ้าหลวงพ่อไม่มีหนังสือคัมภีร์ก้อนเล็ก ๆ นี้ ไว้เป็นหลักฐาน หลวงพ่อจะเอาอะไรมาเป็นหลักฐาน ต้องมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเป็นตำนานเป็นประวัติศาสตร์ หลวงพ่อได้ถอดแบบแปลจากต้นฉบับมาพิมพ์แล้วศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ว่าอะไรเป็นอะไรตรงนั้นจึงประมวลเรื่องราวต่าง ๆ เข้าสู่ยุค ม.ศ. เพราะว่าพระพุทธองค์ได้ทรงบรรจบไว้ที่กรุงโกสัมพีครั้งแรกตั้งแต่พระชนมายุ ได้ ๕๐ พรรษา พระองค์ได้เสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทเสี่ยงทายตรงนี้ที่ภูพลานสูง ครั้งแรก พระพุทธองค์ได้เสด็จมาตรงหน้าผาประวัติศาสตร์ พระพุทธองค์เอาพระพุทธหัตถ์ลูบหน้าผา แล้วพระองค์ทรงอุทานว่า “โอ้หน้าผาตรงนี้ต่อไป จะเป็นประวัติศาสตร์” แล้วพระองค์ก้าวไปอีก ๒ก้าวเอาพระพุทธหัตถ์ทั้งสองข้างลูบหน้าผาแล้วตรัสว่า “หน้าผาตรงนี้ต่อไปจะเป็นหน้าผาประวัติศาสตร์ ขอให้สำเร็จ ขอให้สำเร็จ” โดยมีพระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ พระสีวลียืนเป็นสักขีพยานอยู่ด้วย จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเสด็จพระดำเนินขึ้นไปเรื่อย ๆ พอเสด็จขึ้นไปได้หน่อยหนึ่งพระสีวลีได้เอาสีมาทำเครื่องหมายลายแทงไว้ให้ เป็นสัญลักษณ์ของรอยพระพุทธหัตถ์ แล้วพระพุทธองค์ทรงพระดำเนินไปถึงตาน้ำ (บ่อน้ำบุ้น) ทรงตรัสให้พระโมคคัลลานะและพระสีวลีนำก้อนหินที่ปิดทางน้ำออกทำให้มีน้ำไหล พวยพุ่งขึ้นมา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าน้ำตรงนี้กินกี่พันปีก็ไม่มีวันหมด และพระพุทธองค์ได้ทรงสรงน้ำตรงนั้น Read More »
รอยพระหัตถ์พระพุทธเจ้า
ตามประวัติเมื่อพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษาพรรษาที่ ๑๖ พระองค์ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณว่า ในอนาคตข้างหน้าศาสนาของพระองค์จะมาเจริญรุ่งเรือง ณ ดินแดนสุวรรณภูมิในกึ่งศตวรรษ ดังนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอรหันตสาวกมีพระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ พระสีวลี พระมหากัจจายนะ พระอานนท์ ได้เสด็จมายังภูพลานสูง ดินแดนสุวรรณภูมิประเทศ เพื่อแสดงธรรม โปรดพระเทวจักร กิตฺติโก ผู้เป็นประธานสงฆ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงภูพลานสูงแล้ว ได้เสด็จไปบริเวณหน้าผาทางด้านทิศตะวันตกของภูพลานสูง ทรงเอาฝ่าพระพุทธหัตถ์เบื้องซ้ายลูบหน้าผา พร้อมกับตรัสว่า “ในอนาคตเบื้องหน้ากึ่งพุทธกาลสถานที่ตรงนี้จะเป็นหน้าผาประวัติศาสตร์” แล้วเสด็จไปทางทิศทักษิณ ๒ ก้าวทรงลูบหน้าผาด้วยฝ่าพระพุทธหัตถ์ทั้งสองข้าง พร้อมประทานพรว่า “ขอให้สำเร็จ ขอให้สำเร็จ” ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงลูบหน้าผานั้น แผ่นหินได้เกิดปฏิกิริยาขึ้นมารองรับรอยพระพุทธหัตถ์ จากนั้นพระมหากัสสปะได้นำต้นเหนี่ยงจากประเทศอินเดียมาปลูกไว้ที่หน้าถ้ำ มังกร ต้นไม้นี้มีเพียงต้นเดียวในภูเขาลูกนี้ Read More »
รายชื่อวัดที่ร่วมสร้างหลวงพ่อพระโตโคตะมะ
รายชื่อวัดที่ สร้างหลวงพ่อพระโตโคตะมะ ขนาดหน้าตัก 9 เมตร สูง 16 เมตรในโครงการหล่อพระสืบชะตาหลวงเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สืบพระศาสนา และน้อมถวายเป็นพระราชกุศล 1.วัดแสนชะนี บ้านแสนชะนี ต.พรสวรรค์ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 (พระโตโคตะมะองค์ปฐม) พระธรรมธรภรังสี ฉนฺทโร เจ้าอาวาสวัดภูพลานสูง 2.วัดจอมแจ้ง บ้านแก่งม่วง ต.น้ำทูน อ.ท่าลี่ จ.เลย องค์ต้นแบบพิมพ์ ฉลองพิมพ์วันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2554 พระปลัดสัจจา สุทธจิตโต เจ้าอาวาส 3.วัดโพนทอง บ้านห้วยเดื่อ ต.น้ำทูน อ.ท่าลี่ จ.เลย สร้างเมื่อ วันที่ 12 – 14 กรกฎาคม 2554 พระปลัดชัยรัตน์ ภูริปัญโญ (หลวงปู่มุณีน้อย) เจ้าอาวาส 4.วัดเกาะแก้วศิวิไลซ์ บ้านโนนกลาง ต.โนนกลาง อ.พิบูลย์มังสาหาร จ.อุบลราชธานี สร้างเมื่อ วันที่ ... Read More »
อุปกรณ์หล่อหลวงพ่อพระโตโคตะมะ
อุปกรณ์หล่อหลวงพ่อพระโตโคตะมะ ขนาดหน้าตัก 9 เมตร สูง 16 เมตร (เฉพาะองค์) เหล็ก 16 ม.ม. 100 เส้น เหล็ก 12 ม.ม. 150 เส้น เหล็ก 6 ม.ม. 20 เส้น ลวดมัดเหล็ก 25 มัด อิฐบล็อก 1,000 ก้อน หิน 60 คิว ทราย 60 คิว ปูนปอร์ตแลนด์ (ช้างแดง) 500 ถุง ปูนกาว 5 ถุง ไม้หน้า 3 ยาว 4 เมตร 200 ตัว ไม้อัด 100 ม.ม. เกรด A 25 แผ่น ตะปู 3 1 ลัง ... Read More »
รายนามคณะกรรมการโครงการหล่อพระสืบชะตาหลวง
รายนามคณะกรรมการโครงการหล่อพระสืบชะตาหลวง ๑.พระราชธรรมโกศล -เจ้่าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ) ประธานที่ปรึกษาโครงการ ๒.พระครูธรรมธรภรังสี ฉันทโร -เจ้าอาวาส วัดภูพลานสูง อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ประธานโครงการ ๓.พระปลัดชัยรัตน์ ภูริปัญโญ -เจ้าอาวาส วัดโพนทอง บ.ห้วยเดื่อ หมู่ที่ ๓ ต.น้ำทูน อ.ท่าลี่ จ.เลย สุริยะธาตุ ศิวิไลซ์ สาขา ๕ ประธานดำเนินงาน ๔.พระปลัดสัจจา สุทฺธจิตฺโต -เจ้าอาวาส วัดจอมแจ้ง บ.แก่งม่วง หมู่ที่ ๔ ต.น้ำทูน อ.ท่าลี่ จ.เลย สุริยะธาตุ ศิวิไลซ์ สาขา ๖ รองประธานดำเนินงาน ๕.พระสมุห์สนั่น ธัมมธีโร -เจ้าอาวาส วัดโพธิ์ธาราม จ.อุบลราชธานี สุริยะธาตุ ศิวิไลซ์ สาขา ๒๕ กรรมการ ๖.พระสมุห์อภิชาติ อภิชาโต -เจ้าอาวาส วัดสหมิตร บ.ปากห้วย ต.หนองผือ อ.ท่าลี่ จ.เลย ... Read More »
รายละเอียดโครงการ
เริ่มสร้างพระพุทธรูปครอบหลวงพ่อพระโตโคตะมะเมื่อได้ทราบความเป็นมาโดย ละเอียดแล้ว หลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ก็ได้ใช้เวลาในการเข้าไปทำความคุ้นเคยกับชาวบ้านแสนชะนี ซึ่งท่านได้ใช้ความอดทน ค่อย ๆ เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้กับลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังและได้ขยายวงกว้างไปสู่ฆราวาส โยมทั้งหลายมีความศรัทธานับจากนั้นเป็นต้นมา วัดแสนชะนีก็กลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีพระภิกษุ สามเณร พักจำพรรษาตลอดมา พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวนี้จมลึกอยู่ใต้ดินประมาณ ๒ เมตร และมีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๒๙ เมตร และเป็นพระพุทธรูปทองคำ การจะนำพระพุทธรูปขึ้นมาจากพื้นดินจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ซึ่งจะทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมายภายหลังหลวงพ่อภรังสี ฉันทโร จึงได้ขออนุญาตถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อพระโตโคตะมะ” และได้ขออนุญาตที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปครอบบริเวณที่พระพุทธรูปทองคำจมอยู่ ใต้พื้นดิน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลหรือสัตว์ต่าง ๆ ไปเหยียบย่ำผืนดินบริเวณตรงนั้นอีกต่อไป และเพื่อจะได้ประกาศพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่ง ได้ทรงพระราชทานพระนขาให้ไว้เป็นมรดกแก่ขาวสุวรรณภูมิเมื่อพระพุทธองค์ืทรงมาอุบัติในผืนแผ่นดินสุวรรณภูมินี้แล้ว จึงถือว่าเป็นมงคลแก่ผืนแผ่นดินแห่งนี้ หากพวกเราไม่เชิดชูบูชาแล้ว ก็จะเป็นการไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดอาเพศแก่แผ่นดินนี้ได้ อีกประการหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงครองศิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และร่วมเฉลิมฉลองในปีมหามงคลนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสืบต่อพระชนมพรรษาแด่พระองค์ท่าน ให้พระองค์ท่านมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เจริญพระชนม์มายุยาวนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ... Read More »
โครงการหล่อพระหลวงพ่อพระโตโคตะมะ
รายละเอียดโครงการหล่อพระสืบชะตาหลวงความเป็นมาขององค์หลวงพ่อพระโตโคตะมะ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปบูรณะพระธาตุพนมและได้พบคัมภีร์สุริยะโคตมะ ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณ (พระมหากัสสปะและพระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้จารึก) จึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎก วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากที่ท่านได้มรณภาพแล้ว ไม่มีผู้ใดพบเห็นคัมภีร์โบราณอีกเลย จนกระทั่งหลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ได้ค้นพบและเก็บไว้เป็นหลักฐาน หลังจากค้นพบแล้วก็ได้ศึกษาค้นคว้า จึงทำให้ได้ีรู้ว่า มีพระพุทธรูปที่มีความสำคัญ ซึ่งภายในได้บรรจุพระพุทธนขา (เล็บมือข้างขวา) ของพระพุทธเจ้า และเป็นกุญแจสำคัญที่นำพาให้ได้พบพระพุทธโลหิตสืบต่อไปการค้นพบหลวงพ่อพระโต โคตะมะมูลเหตุแห่งการค้นพบหลวงพ่อพระโตโคตะมะ เริ่มต้นที่ วัดแสนชะนี บ้านแสนชะนีตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงปี ๒๕๓๕หลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ได้มาสร้างวัดป่าคำบอน (บ้านคำบอน อ.นาจะหลวย จ.อุบลฯ) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน และได้ยินคำร่ำลือเกี่ยวกับวัดแสนชะนี ว่าเป็นสถานที่มีอาถรรพ์มาก เพราะไม่มีพระรูปใดไปพักและจำพรรษาอยู่ได้เลย พระภิกษุ – สามเณร ที่จำพรรษาอยู่ก็มรณภาพ จึงเกิดคำร่ำลือไปต่าง ๆ นานาว่าที่แห่งนี้มีผีดุ เมื่อหลวงพ่อภรังสี ฉันทโร ได้ยินเสียงร่ำลือดังนี้แล้ว ก็เกิดความสนใจอยากจะไปพิสูจน์ให้รู้แน่ชัด ว่าการที่ พระ – เณร มรณภาพนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ... Read More »
พบหลวงพ่อพระโตโคตะมะ
พบหลวงพ่อพระโตโคตะมะ เมื่อพระแก้วแสนคำเสด็จลงสู่เมืองบาดาล หลวงพ่อพระโตโคตะมะซึ่งจำพรรษาที่เมืองบาดาลก็เสด็จขึ้นมาตรงที่วังพระนางคำ นางล่ม ตรงนั้นกลายเป็นแอ่งน้ำเล็กแหลมลึกลงไป ชาวบ้านเรียกว่า “หนองโด่ง” เมื่อสมัยก่อนเรียก “หนองก้นหวด” วันดีคืนดีก็จะมีแสงพญานาคลอยขึ้นมาวนเวียนอยู่ตรงบริเวณนั้น เมื่อหลวงพ่อพระโตโคตะมะขึ้นมาจากบาดาลก็มาอยู่ตรงนั้น ขึ้นมาเพื่อรอแก้คำสาบของนครแสนคำ ซึ่งถูกคำสาปของพระนางคำนาง อยู่ต่อมาบริเวณนั้นน้ำหนุนขึ้นมาเรื่อย ๆ หลวงพ่อพระโตโคตะมะท่านก็ขยับตัวออกจากหนองโด่งมาอยู่ที่เนินดินบ้านแสน ชะนี เมื่อก่อนไม่ได้เป็นที่ของใคร ชาวบ้านเข้าไปหักร้างถางพงทำไร่ทำนาบริเวณนั่นก็ทำไม่ได้ เกิดภัยพิบัติเจ็บไข้ได้ป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ ชาวบ้านกลัวไม่กล้าเข้าไปบุกรุกทำสวนทำไร่ ชาวบ้านเลยปักเป็นเขตสาธารณะ ต่อมาที่ตรงนั้นได้สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อสร้างเป็นวัดแล้วพระเณรก็อยู่ไม่ได้อีกสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมา บังเอิญไปตรงที่หลวงพ่อพระโตโคตะมะอยู่ พอทางวัดยกโครงหลังคาขึ้น ใส่เครื่องหมดแล้วหลังคายังไม่ได้มุง ตื่นเช้าขึ้นมาศาลาล้มทั้งหลัง ทั้งพระและชาวบ้านบอกว่าเป็นลางไม่ดี สร้างศาลาขึ้นมาพร้อมจะยกหลังคาขึ้น ตื่นขึ้นมาศาลาล้มทั้งหลังโดยไม่มีการหักเสียหายแต่ประการใด ไม้ซักตัวก็ไม่หัก ชาวบ้านช่วยกันรื้อแล้วมาสร้างที่ใหม่ก็ไปตันหน้าหลวงพ่อพระโตโคตะมะ สร้างไม่ได้อีกต้องย้ายไปสร้างที่อื่นใหม่ให้ห่างจากบริเวณนั้น Read More »
นครแสนคำ
นครแสนคำ อยู่ต่อมาประมาณสี่ร้อยกว่าปีก็เกิดเรื่องราวชิงรักหักสวาทขึ้นในนครแสนคำ พระนางคำนางกับพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนเป็นพระโอรสของพระเจ้าอองแวชัยเสนแห่งนครจำปาศรี ปัจจุบันคือจังหวัดขอนแก่น เป็นราชบุตรเขยของพระยาตุ้มทองในสมัยนั้นพระยาตุ้มทองมีบารมีโด่งดังมาก ได้พระเจ้าอองแวชัยเสนเป็นราชบุตรเขย มีพระราชโอรสชื่อพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน ได้เสกสมรสกับพระนางคำนางซึ่งเป็นหลานของพระยาเทพชมพู แห่งนครแสนเมืองพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนได้ปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น สาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองล่มจมนั้น เป็นเพราะในปีนั้นพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนและบรรดาเหล่าเสนาบดีเห็นพ้องต้องกันว่า ตรงตำหนักที่พระนางคำนางประทับอยู่นั้นเริ่มทรุดตัว มีน้ำท่วมขังต่อไปพระตำหนักของพระนางคงต้องพังลง ไปอย่างแน่นอน พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนจึงให้เสนาบดีไปตระเวนหาที่จะสร้างเมืองใหม่สร้างพระตำหนักใหม่ เหล่าเสนาบดีด้นดั้นค้นหาจนมาถึงเมืองบัว ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่มีความเจริญมากเพราะมีโรงงานกระเบื้องดินเผาสังคโลกถึง ๑๐ โรง ความเจริญต่าง ๆ มาอยู่ที่เมืองบัวหมด เมื่อพบที่ถูกใจเหล่าเสนาบดีก็กลับไปกราบทูลพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน พระองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับเหล่าเสนาบดีเสด็จชมเมืองไปเรื่อย ๆ ขากลับพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนทอดพระเนตรเห็นนางบัวอยู่ท่ามกลางเหล่าบริวารทั้งหลายนางดูโดดเด่นกว่าใคร มีบริวารชายหญิงเดินตามเป็นขบวน พระองค์ทรงสนพระทัยนางบัวเป็นอย่างมาก จึงให้มหาดเล็กไปสอบถามว่านางเป็นลูกเต้าเหล่าใคร เมื่อพระองค์ได้ทราบว่านางเป็นลูกสาวช่างหม้อ พระองค์ได้ให้มหาดเล็กไปบอกช่างหม้อว่าพระองค์สนพระทัยลูกสาวช่างหม้อช่างหม้อได้ทราบข่าวก็ดีใจรีบเรียกลูกสาวให้กลับมาอาบน้ำอาบท่าแต่งตัวและนำลูกสาวไปถวายตัวกับพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสน ต่อมาพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนได้สถาปนานางบัวให้เป็นพระสนมและสร้างเมืองบัวให้พระสนมบัวอยู่ สร้างพระตำหนักให้เรียกว่า “พระตำหนักพระสนมบัว” เมื่อสร้างเมืองบัวและพระตำหนักพระสนมบัวเสร็จพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนดำริที่จะอัญเชิญพระแก้วแสนคำมาเป็นประธานเฉลิมฉลองเมืองบัวและพระตำหนักใหม่ให้พระสนมบัว พระสนมบัวปรารภว่าพระแก้วแสนคำจะมาได้อย่างไร ในเมื่อพระนางคำนางเป็นผู้ดูแลพระแก้วแสนคำพระนางคงไม่อนุญาตให้พระแก้วแสนคำเสด็จมาเมืองบัวแน่นอน พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนบอกว่าพระองค์จะพยายาม พระสนมบัวจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานและเตรียมสถานที่ต้อนรับพระแก้วแสนคำ เสร็จแล้วพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนก็เสด็จกลับมาที่นครแสนคำ พระองค์ไปบอกพระนางคำนางเกี่ยวกับการที่จะอัญเชิญพระแก้วแสนคำไปฉลองเมืองใหม่ พระนางคำนางได้ยินดังนั้นก็เกิดความไม่พอพระทัย พระนางกริ้วมาก พระนางได้ให้บริวารไปสืบความว่าเป็นความจริงไหม บริวารไปสืบสาวราวเรื่องกลับมากราบทูลให้พระนางฟังว่าเป็นความจริง พระนางยิ่งโกรธมาก เมื่อพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนเสด็จกลับจากดูงานสร้างเมืองใหม่ที่เมืองบัว พระองค์เสด็จไปที่พระตำหนักพระนางคำนาง เพื่อมาเชิญพระนางคำนางและพระแก้วแสนคำเสด็จไปฉลองเมืองใหม่ เมื่อพระนางคำนางเห็นพระสวามีได้ต่อว่าพระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนว่าไหนว่าไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ทำไมไปมีสนมใหม่ ต่อว่าต่อขานด้วยความน้อยใจ ด้วยความโกรธพระนางจึงเป็นลมล้มฟุบไป พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนช่วยเหลือพระนางจนฟื้นขึ้นมา พระเจ้าอนุพงศ์ชัยเสนจึงตั้งสัจจะอธิษฐานว่า พระองค์ขออัญเชิญพระแก้วแสนคำไปฉลองเมืองใหม่ ... Read More »